คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่งหรืโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวณผลข้อมูล ทั้งที่เป็นตัวเลขและรูปภาพ ตัวอักษร และเสียง
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน
ส่วนที่ 1
หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit) เป็นวัสดุอุปกรณืที่นำมาเชื่อต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ เพื่อกำหมดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการได้แก่
-แป้นอักขระ(Keyboard)
-แผ่นซีดี(CD-Rom)
-ไมโครโฟน(Microphone)
เป็นต้น
ส่วนที่ 2
หน่วยประมวลผลกลาง (Centeal proessing Unit)
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและทางคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั้งที่ได้รับ
ส่วนที่ 3
หน่วยความจำ (Memory Unit)
ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลกลางและเก็บผลรับได้จากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมไปยังหน่วยแสดงผล
ส่วนที่ 4
หน่วยแสดงผล(Output Unit)
ทำหน้าที่แสดงข้อมูลคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
ส่วนที่ 5
อุปกรณ์ต้อพ่วงอื่นๆ (peripheral Equipment)
เป็นอุปกรณืที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอรืเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นต้น
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1.มีความเร็วในการทำงานส่ง สามารถประมวลผลคำสั่งได้อย่างรวดเร็วในชั่ววินาที จึงใช้งานคำนวณได้อย่างรวดเร็ว
2.มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3.มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและมีข้อมูลที่ใช้
4.เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
5.สามารภโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องนึงไปยังเครื่องนึงผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
ระบบคอมพิวเตอร์
หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียนราษฎ์ ระบบทะเบียนการค้า ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล เป็นต้น
การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้
1. ฮาร์แวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2. ซอฟแวร์ หรือส่วนชุดคำสั่ง
3. ข้อมูล
4.บุคคลากร
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย 4 ส่วน สำคัญ ดังนี้
1.ส่วนประมวลผล(Processor)
2.ส่วนความจำ(Memory)
3.อุปกรณ์รับเข้าระส่งออก(Input-Output Devices)
4.อุปกรณืหน่วยเก็บข้อมูล(Storage Devices)
1.ส่วนประมวลผล(Processor) CPU
เป็นอุปกรณ์ที่เปรียบเสมือนสมอง มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวลผลและเปรียบเทียบ้อมูลโดยทำการเปลียนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียู พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูลอ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของ ซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกาเป็ฯความเร็วของจำนวนรอบสัณญาณในหนึ่งวินาที มีหน่ววยเป็น เฮิร์ต(Hertz) เช่น สัญญาณความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วสัญญาณนาฬิกา 1 จิกะเฮิร์ต(1GHz)
ส่วนที่ 2 หน่วยความจำ(Memory) จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
2.หน่วยความจำสำรอง(Secondary Memory)
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ชุดความจำของข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหริอคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็ฐไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผล ภายหลัง โดย ซีพียู ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและออกจากหน่วยความจำ
การทำงานของคอมพิวเตอร์ในหน่วยความจำหลักต้องใช้พื้นที่ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผลและเก็บข้อมูล ขนาดของความจุของหน่วยความจำ คำนวณได้จากค่าจำนวณพื้นที่ที่สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือจำนวนข้อมูล และขนาดของโปรแกรมที่สามารถเก็บข้อมูลได้สูงสุด พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น
หน่วยประมวลผลกลาง(CPU)
หน่วยประมวลผลกลางCPU มีความหมายทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่าง คือ
1. ชิป(chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2.ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่
1.หน่วยความจำหลัก
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แรม(RAM)และ รอม(ROM)
1.1หน่วยความจำแบบ แรม
(RAM=Random Access Memory)
เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่องหรือไม่มีกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องเราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้(Volatile Memory )
1.2 หน่วยความจำแบบ "รอม"ROM=Read Only
เป็นหน่วยความจำที่ที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกียวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นแบบไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ที่ยอมให้ ซีพียู อ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียวไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้เก็บไว้โดยง่ายส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควาบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่าหน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)
หน่วยความจำรอง
คือ หน่วยความจำรอง สามารถจัดเก็บข้อมูล และโปรแกรมไว้ใช้ในภายหลังได้ แม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลและโปรแกรมที่เก็บไว้ ไม่สูญหายหรือถูกลบทิ้ง นอกจากนี้ หน่วยความจำรอง สามารถเพิ่มขนาดความจุได้ เนื่องจากหน่วยความจำหลักจะมีขนาดความจุจำกัด
หน่วยความจำรอง สามารถเพิ่มขนาดความจุได้
หน่วยประมวลผลจะเรียกใช้ข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำรอง ได้จะช้ากว่า หน่วยความจำหลัก
1.มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรม เหมือนกับ หน่วยความจำหลัก แต่ต่างจากหน่วยความจำหลัก
2.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
3.เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องนึงไปยังงอีกเครื่องนึง
ตัวอย่าง หน่วยความจำรอง
ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
จะแก้ไขปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้วผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บในหน่วยความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำสำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วความจำแรมมาเก็บไว้ที่ใช้งานในเคื่องต่อไปหน่วยความจำประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิกส์ แผ่นบันทึก ซิปดิกส์ หน่วยความจำสำรองนี้ถึงจะไม่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่เครื่องคอมพิวเตรอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ
ส่วนแสดงผลข้อมูล
คือส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลางที่แสดงผลข้อมูลได้แ จอภาพ(Monitor) หริอ (Screen) เครืองพิมพ์(Printer) เคร่องพิมพ์ภาพ(Ploter) และ ลำโพง(Speaker) เป็นต้น
บุคคลากรทางคอมพิวเตอร์(Peopleware) หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่นอาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของหน่วยงานคอมพิวเตอร์
ประเภทของบุคคลากรทางคอมพิวเตอร์ (Peopleware)
1.ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
2.ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3.ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ
บุคคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์(EDP Manager)
2.หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน(System Analyst หรือ SA)
3.โปรแกรมเมอร์(Programmer)
4.ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์()
5.พนักงานจัดเตรียมข้อมูล
-นักวอเคราะห์ระบบงาน
ทำการศึกษาระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหท่
-โปรแกรมเมอร์
นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรม
-วิศวกรระบบ
สร้าง ซ่อม บำรุง และดูแลรักษา ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานำตามต้องการ
-พนักงานปฏิบัติงาน
ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
1.ผู้จัดการระบบ
คิอผู้วางนโยบายใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2.นักวิเคราะห์ระบบ
คือผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้งานคอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3.โปรแกรมเมอร์
คือผู้เขียนโปรแกรมคำสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคาระห์ระบบได้เขียนไว้
4.ผู้ใช้งาน
คือผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น